หลอดไฟแบบไหนตอบโจทย์กับคุณ
"แสง" เป็นปัจจัยสำคัญในการอยู่อาศัยในทุกๆ ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟ เพื่อให้ได้ทั้งแสงสว่าง เหมาะกับแต่ละห้องและไม่เปลืองไฟ วันนี้ช.สงวนโฮมโปรจะมาแนะนำการเลือกซื้อหลอดไฟประหยัดพลังงานอย่างไรให้เหมาะกับห้องต่างๆ ภายในบ้าน และตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด ก่อนที่เราจะรู้วิธีเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟ จำเป็นต้องศึกษาประเภทของหลอดไฟว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานอย่างไร? เพื่อให้เราเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
ประเภทของหลอดไฟ
1. หลอดไส้ (Incandescent) หรือที่เรียกว่า 'หลอดไส้' หลอดไฟประเภทนี้มีใช้กันมานานแล้ว ด้วยไส้หลอดทังสเตน สามารถส่องสว่างได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าผ่านไส้ของลวดโลหะร้อน แต่ปัจจุบันความนิยมในการเลือกใช้ลดลง เนื่องจากอายุการใช้งานสั้นค่อนข้างกินไฟ รวมถึงออพชั่นอื่นๆที่ตอบโจทย์มากขึ้น
2. หลอด ฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หรือที่เรียกว่า 'หลอดตะเกียบ' ให้แสงสว่างโดยอาศัยพลังงานแสงอัลตราไวโอเลตที่เกิดจากไอปรอทที่บรรจุอยู่ในก๊าซเฉื่อยภายในโคม แสงที่เรามองเห็นจะผ่านเข้ามายังผิวในหลอดที่เคลือบด้วยสารเรืองแสง เนื่องจากแสงอัลตราไวโอเลตที่ตามนุษย์มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หลอดไฟประเภทนี้มีหลายรูปแบบ ทั้งหลอดยาว และหลอดขดดัดแปลงเพื่อใช้แทนหลอดไส้ที่มีขั้วเกลียว E14 E27 เรียกว่าหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) หรือหลอดตะเกียบ ไฟสูง มีหลากหลายสีให้เลือก แต่อายุใช้งานสั้นโดยเฉพาะถ้าเปิดทั้งวันอายุการใช้งานจะลดลงไปอีก และมักจะเกิดอุณหภูมิความร้อนสูง จึงทำให้กินไฟไม่น้อยเช่นกัน
3. หลอด Light Emitting Diode หรือที่เรียกว่า 'LED' มีประสิทธิภาพสูง ใช้กันอย่างแพร่หลาย ให้แสงสว่างโดยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านสารกึ่งตัวนำจนเกิดแสงสว่าง หลอดชนิดนี้ให้ความร้อนน้อยมาก ประหยัดพลังงานอายุการใช้งานยาวนาน
ด้วยเหตุนี้หลอดประหยัดไฟ LED จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน มีข้อดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าประมาณ 15,000 – 50,000 ชั่วโมง ให้สีและความสว่างที่คงที่ ประหยัดไฟกว่าหลอดประเภทอื่นๆ แม้ว่าราคาจะสูงกว่าหลอดทั่วไป แต่ถ้าเทียบกับระยะเวลาการใช้งาน ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เอาล่ะ ถึงเวลาที่เราจะมาดูการเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟกัน
เลือกหลอดไฟให้เหมาะกับห้องของเรา
ถ้าสังเกตดีๆ สีของหลอดประหยัดไฟแต่ละดวงจะต่างกันออกไป ให้ความรู้สึกและบรรยากาศภายในห้องตามความต้องการของเรา ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการมองเห็นด้วยเช่นกัน เช่น ห้องนอนอาจไม่เหมาะกับแสงไฟจ้า ควรเป็นหลอดไฟโทนสีส้มที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งหลอดประหยัดไฟมีโทนสีให้เลือกดังนี้
หลอดไฟสีวอร์มไวท์ – ให้แสงสีส้มโทนอุ่นที่มีอุณหภูมิสีประมาณ 2,500 – 3,300 เคลวิน เหมาะสำหรับห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ควรหลีกเลี่ยงในห้องแต่งตัว เพราะแสงนี้จะทำให้สิ่งที่เราเห็นผิดเพี้ยนไป เช่น เสื้อสีขาวจะออกเหลืองๆ
หลอดไฟ Cool White - เป็นแสงสีขาวสว่างสีโทนเย็น อุณหภูมิสีประมาณ 4,000 เคลวิน ดูสบายตา เหมาะกับห้องที่ต้องการสีสันที่ชัดเจน เช่น บริเวณโต๊ะรับประทานอาหาร ช่วยให้อาหารอร่อย
หลอดไฟสี Day Light – โทนสีมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป เป็นโทนสีที่ใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติ อุณหภูมิสีประมาณ 4,500-6,500 เคลวิน มองเห็นชัดเจน สีไม่เพี้ยน เหมาะกับหลายห้องในบ้าน เช่น ห้องทำงาน โต๊ะเครื่องแป้ง หรือแม้แต่ห้องน้ำก็เลือกใช้หลอดสีนี้ได้เช่นกัน.
เปรียบเทียบขนาควัตต์ของแต่ละประเภทของหลอด
มาลองคำนวณอัตราการใช้ไฟกันว่าเราจะใช้เดือนละกี่บาท?
โดยเปิดใช้ได้ตลอด 24 ชม. / วัน (อ้างอิงกำลังวัตต์จากภาพด้านบนเพื่อคำนวณ)
สูตรการคำนวณ
กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนหลอดไฟ ÷ 1,000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (หน่วย)
**ในที่นี้ สมมติค่าไฟหน่วยละ 6 บาท
หลอดไส้100วัตต์
100วัตต์x1หลอด/1000x24ชม. = 2.4 หน่วย/วัน
หากคุณเปิดไฟทิ้งไว้โดยไม่ปิดเป็นเวลาหนึ่งเดือน
จะต้องจ่ายค่าไฟ 2.4 หน่วย x 6 บาท x 30 วัน = 432 บาท/เดือน
หลอดไส้ 18 วัตต์ ให้ความสว่างเท่ากับหลอดไส้ 100 วัตต์
18 วัตต์ x 1 หลอด/1000 x 24 ชม. = 0.432 หน่วย/วัน
หากคุณเปิดไฟทิ้งไว้โดยไม่ปิดเป็นเวลาหนึ่งเดือน
จะต้องชำระค่าไฟฟ้า 0.432 หน่วย x 6 บาท x 30 วัน = 77.76 บาท/เดือน
หลอด LED 13 วัตต์ ให้ความสว่างเท่ากับหลอดไส้ 100 วัตต์
13 วัตต์ x 1 หลอด/1000 x 24 ชม. = 0.312 หน่วย/วัน
หากคุณเปิดไฟทิ้งไว้โดยไม่ปิดเป็นเวลาหนึ่งเดือน
จะต้องชำระค่าไฟฟ้า 0.312 หน่วย x 6 บาท x 30 วัน = 56.16 บาท/เดือน
: วันที่ 8 พฤษภาคม 2566